กระบอกลม กระบอกสูบ (PNEUMATIC AIR CYLINDER)

Last updated: 14 มี.ค. 2567  |  46780 จำนวนผู้เข้าชม  | 

กระบอกลม Pneumatic Air Cylinder กระบอกลูกสูบลม กระบอกนิวเมติกส์


กระบอกลม (Pneumatic Air Cylinder) คือ กระบอกลม หรือเรียกอีกชื่อว่า Actuator อุปกรณ์ลมที่ใช้ลมทำให้ก้านกระบอกลม เคลื่อนที่ไปในแนวเส้นตรง หรือหมุน 90, 180, 270 หรือ 360 องศา อุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานในรูปแบบความดันลมให้เป็นพลังงานกลในรูปแบบของการเคลื่อนที่ โดยแบ่งตามลักษณะการทำงานหรือการเคลื่อนที่ - บริษัท ฟลูเทค จำกัด ตัวแทนจำหน่ายประเทศไทย

ประเภทและหลักการทำงานของกระบอกสูบ

  1. Single Acting Cylinders (SAC) คือ กระบอกสูบลมที่ใช้แรงดันในการเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวและจะมีสปริงอยู่ภายในเพื่อดันลูกสูบกลับเข้าที่ให้พร้อมใช้งานใน ครั้งต่อไป เหมาะกับการโหลดงานที่ไม่มากนัก เพราะสามารถใช้งานได้แม้ในกรณีที่ไฟฟ้าดับ
  2. Double Acting Cylinders (DAC) คือ กระบอกสูบลมที่ใช้แรงดันอากาศทั้งสองทางในการเคลื่อนที่โดยทำงานสลับ เมื่อด้านหนึ่งผลิตแรงดัน อีกด้านจะเป็นตัวจ่าย แรงดันอากาศ เหมาะกับงานที่ต้องการการเคลื่อนที่ในแนวตรงและระยะชักที่ยาว เพราะแรงดันอากาศจะมีความคงที่กว่ากระบอกสูบแบบทางเดียว
  3. Telescoping Cylinder คือ กระบอกสูบแบบ Single หรือ Double ก็ได้ ถูกออกแบบมาให้มีกระบอกสูบหลาย ๆ ชั้นซ้อนอยู่ภายในจากตัวใหญ่แล้วเล็กลง เหมาะสำหรับการใช้งานที่มีข้อจำกัดด้านพื้นที่เพราะสามารถยืด-หดความยาวของตัวกระบอกได้

 

ประโยชน์ของกระบอกสูบ

กระบอกสูบถูกนำมาใช้งานได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น ด้านก่อสร้าง ด้านการผลิต หรือแม้แต่เครื่อง มือวัดต่าง ๆ โดยจะใช้ในการ ดึง ยก หรือแม้กระทั่งการเปิด-ปิดประตู และยังสามารถยึดเก็บหรือนำอุปกรณ์ ชิ้นส่วนต่าง ๆ มาเป็นส่วนประกอบในกรรมมาวิธีการผลิตได้อีกด้วย เป็นการช่วยให้งานผลิตรวดเร็วและมี ประสิทธิภาพมากขึ้น ควบคุมได้ง่ายจากอุปกรณ์นิวเมติก เช่น วาล์วควบคุมแรงดัน และยังสามารถเดินท่อเพื่อใช้งานได้ในระยะ ไกลอีกด้วย มีความปลอดภัยสูงเพราะใช้แรงดันอากาศจึงทำให้ไม่มีอันตรายจากการระเบิดหรือติดไฟ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงในการทำงาน

เลือกใช้กระบอกสูบให้เหมาะสมกับลักษณะงาน

  1. แรงดันอากาศ ต้องตวรจสอบทั้งขนาดกระบอกสูบและแรงดันอากาศภายในให้เหมาะสม หากไม่สม่ำเสมออาจ
    ส่งผลต่อระบบทำให้เกิดการผิดพลาดได้ แต่หากมีแรงดันที่สูงเกินไปอาจทำให้ซีลชำรุดเสียหายได้
  2. น้ำหนักของโหลด ควรมีกระบอกนิวเมติกส์ที่ให้แรงได้มากกว่าโหลด จึงจะทำให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน
  3. ความเร็วของงาน โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ
    1. ความเร็วต่ำ 4 นิ้ว/วินาที ควรเลือกกระบอกลมที่ผลิตแรงดันมากกว่า 25% ของโหลด
    2. ความเร็วปานกลาง 4-6 นิ้ว/วินาที ควรเลือกกระบอกลมที่ผลิตแรงดันมากกว่า 50% ของโหลด
    3. ความเร็วสูง 16 นิ้ว/วินาที ควรเลือกกระบอกลมที่ผลิตแรงดันมากกว่าของโหลด 2 เท่า 


อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กระบอกลม กระบอกสูบ (PNEUMATIC AIR CYLINDER)

 

กรุณาติดต่อเราสำหรับข้อมูล กระบอกลมนิวเมติกส์ เพิ่มเติม:
โทร: 02-384-6060  | ไลน์: @flutech.co.th  | อีเมล: sales@flutech.co.th  | เฟสบุ๊ค: @flutech.co.th  | เว็บไซต์: https://flutech.co.th

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้